วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

คำนมัสการอาจาริยคุณ

ผู้แต่ง   พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)
  อนึ่งข้าคำนับน้อม                 ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน                   อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
   ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ              ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน                    ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
   จิตมากด้วยเมตตา                 และกรุณา บ  เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์                ให้ฉลาดและแหลมคม
   ขจัดเขลาบรรเทาโม-                หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์                    ก็สว่างกระจ่างใจ
   คุณส่วนนี้ควรนับ                  ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน                    จิตน้อมนิยมชม
ถอดความ   กล่าวแสดงขอความเคารพนอบน้อมต่อครู  ผู้มีความกรุณา
เผื่อแผ่อบรมสั่งสอนศิษย์ทุกสิ่ง  ให้มีความรู้ ทั้งความดี ความชั่ว ชั่วขยายความให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
มีเมตตากรุณากรุณาเที่ยงตรง  เคี่ยวเข็ญให้ฉลาดหลักแหลม  ช่วยกำจัดความโง่เขลา
ให้มีความเข้าใจแจ่มชัด พระคุณดังกล่าวนี้  ถือว่าเป็นเลิศในสามโลกนี้ 
ควรระลึกและน้อมใจชื่นชมยกย่อง  อ่านเพิ่มเติม


นมัสการมาตาปิตุคุณ

ผู้แต่ง    พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
จุดประสงค์  เพื่อสรรเสริญพระคุณของบิดามารดา
  ข้าขานบชนกคุณ               ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน                   ผดุงจวบเจริญวัย
  ฟูมฟักทะนุถนอม               บบำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรๆ                  บคิดยากลำบากกาย
     ตรากทนระคนทุกข์               ถนอมเลี้ยงฤรู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย                 จนได้รอดเป็นกายา
  เปรียบหนักชนกคุณ              ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา                 ก็บเทียบบเทียมทัน
  เหลือที่จะแทนทด               จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน                   อุดมเลิศประเสริฐคุณ
ถอดความ     บทกวีนี้ กล่าวนอบน้อมพระคุณของบิดามารดา ผู้ได้เกื้อกูลมาตั้งแต่เล็กจนเติบโต
      คอยเฝ้าระวังรักษาประคับ ประคองดูแลอยู่ไม่ยอมห่าง  แม้จะ ลำบากเท่าไรก็อดทนได้
          เลี้ยงลูกอย่างทะนุถนอม ปกป้องอันตราย จนรอดพ้นอันตราย เติบใหญ่  เป็นตัวเป็นตน 
เปรียบประคุณของบิดามารดายิ่งกว่าภูเขา

 หรือแผ่นดิน สุดที่จะทดแทนพระคุณ มากล้นนี้ได้  ด้วยการบูชาอันวิเศษสมบูรณ์เลิศล้ำ  อ่านเพิ่มเติม

นิทานเวตาล

ความเป็นมา
                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ

                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่   อ่านเพิ่มเติม

นิราศนรินทร์คำโคลง

ความเป็นมา
       นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
       ๑.๑ ลักษณะของนิราศ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ 
       ๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
      เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
      อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าวรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
๑.๓ นางในนิราศ
      สำหรับนางในนิราศที่กวีพรรณนานั้น อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้แต่กวีถือว่า นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะในบางกรณกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง เพราะมีนางนั้นติดตามาด้วย แต่กวีก็ยังต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศ   อ่านเพิ่มเติม